ขอต้อนรับสู่ Help Desk ของ lertsiamsteel.co.th ณ ที่นี้ ท่านสามารถหาคำตอบที่ท่านต้องการได้ lertsiamsteel.co.th ถูกจัดอยู่ในระดับชั้นนำในกลุ่มเหล็กสเตนเลส ทั้งในด้านคุณภาพ, การบริการ, ราคา, และการใช้งาน ท่านสามารถเลือกปุ่มข้างใต้ในการหาคำตอบที่ท่านต้องการ และหากท่านมีข้อสงสัยที่ชึ้เฉพาะเจาะจง กรุณาส่ง e-mail โดยตรงมาที่แผนกติดต่อสอบถาม
 
 
จริงไหมที่ สเตนเลสที่ดีแม่เหล็กดูดไม่ติด?
ไม่จริง สเตนเลสมีหลายชนิด คุณสมบัติแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับปริมาณของโครเมียม และนิกเกิลที่ผสมอยู่ในเนื้อสเตนเลส
 
 
ทำไมสเตนเลสต้องมีหลาย เกรด?
เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน เช่น สเตนเลสที่มีความแข็งต่ำก็สามารถนำไปขึ้นรูปได้ สเตนเลสที่มีความแข็งมาก ก็นำไปทำมีด สเตนเลสทุกชนิดทนการกัดกร่อน แต่ก็มีบางชนิดที่มีความสามารถในการต้านทานการกัดกร่อนได้ดีพิเศษ
 
 
สเตนเลสไม่มีโอกาสที่จะ เป็นสนิมได้เลย?
ในสภาพการใช้งานที่ขาดการทำความสะอาด หรือมีปัญหาการผลิตในระหว่างการแปรรูป และการเชื่อม อาจจะทำให้สเตนเลส มีสนิมเกิดขึ้นได้
 
 
การใช้สก๊อตไบรท์ขจัด คราบอาหารบนภาชนะ จะทำให้ความหนาลดลงหรือไม่?
ความหนาไม่ลดลง เพียงแต่จะทำให้ผิวของภาชนะเป็นรอยขีดข่วน
 
 
อาหารชนิดใดที่ทำ ปฏิกิริยากับสเตนเลสบ้าง?
อาหารโดยทั่วไปไม่ทำปฏิกิริยากับสเตนเลส เว้นแต่ว่าอาหารมีรสเค็ม เช่น น้ำปลา หรือน้ำส้มสายชูชนิดความเข้มข้นสูง ซึ่งทำให้ความต้านทานการกัดกร่อนของสเตนเลสลดลง
 
 
ถังบรรจุที่ทำจากสเตนเลส เหมาะสมสำหรับการบรรจุ น้ำผลไม้ หรือไวน์หรือไม่?
ความเข้มข้นของกรด Tartaric, Acetic, Tannic, Lactic และ Citric ในน้ำผลไม้ หรือ ไวน์ ไม่ทำให้สเตนเลสเกรด 304 หรือ 316 ผุกร่อน แต่อย่างไรก็ตาม เกรด 304 จะสามารถต้านทานการผุกร่อนได้ก็ต่อเมื่อจุ่มจนท่วมทั้งหมดในสารละลายที่มี So2 น้อยกว่า 700 ppm ซึ่ง So2 ในของเหลวจะอยู่ในสถานะที่เป็นไอ
 
 
การเชื่อมท่อสเตนเลสเกรด 2xx กับเกรด 304 ควรใช้ลวดเชื่อมอะไร?
ใช้ลวดเชื่อมเกรด 308 หรือ 309
 
 
การเชื่อมท่อสเตนเลสเกรด 316 ใช้ลวดเชื่อม 304 ได้หรือไม่?
ส่วนใหญ่ลวดเชื่อมที่ใช้เชื่อมสเตนเลสเกรด 304 จะใช้ลวดเชื่อมเกรด 308 ถ้าเชื่อมสเตนเลสเกรด 316 ใช้ลวดเชื่อมเกรด 316 หรือ 316L แต่ถ้าใช้ลวดเชื่อมที่ใช้เชื่อมสเตนเลสเกรด 304 มาใช้กับสเตนเลสเกรด 316 คุณสมบัติของแนวเชื่อม จะลดลง เนื่องจากสเตนเลสเกรด
 
 
ใช้โพลีคาร์บอนเนตกับ โครงสเตนเลสร่วมกัน จำเป็นต้องใช้สกรูสเตนเลสหรือไม่?
ถ้าจะให้ใช้ดี คงทน ต้องใช้สกรูที่ทำจากสเตนเลสเหมือนกัน เพราะวัสดุต่างชนิดกัน จะเกิดการถ่ายเทศักย์ไฟฟ้าทำให้เกิด การผุกร่อนเร็วขึ้น
 
 
หินเจียร์ที่ใช้ในทุก วันนี้มีกี่ชนิด และหินเจียร์แต่ละชนิดมีไว้ใช้ให้เหมาะสมกับงานประเภทใด?
หินเจียร์ในท้องตลาดทุกวันนี้มีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่ 1. หินเจียร์สำหรับงานสเตนเลส 2. หินเจียร์สำหรับงานโลหะทั่วไป
 
 
หินเจียร์ทั้ง 2 ประเภท สามารถใช้สลับชนิดกันได้หรือไม่?
ได้ แต่การเอาหินเจียร์ที่ใช้สำหรับงานโลหะทั่วไป ไปใช้กับงานสเตนเลสจะมีผลเสียดังนี้
 
1. ใบเจียร์ทั่วไปในท้องตลาดจะทำปฏิกิริยากับเนื้อสเตนเลส และทำให้เกิดสนิมหลังจากการขัดเจียแล้ว สำหรับลูกค้าที่รับงานประมูลจะต้องระวังให้มากในส่วนนี้ เพราะถ้างานเกิดสนิมขึ้นหลัง
2. สเตนเลสมีความแข็งสูงกว่าโลหะทั่วไปค่อนข้างมาก ดังนั้นการนำหินเจียร์สำหรับโลหะทั่วไปมาใช้กับสเตนเลส จึงต้องใช้แรงในขณะเจียร์มากกกว่าปกติ ทำให้สิ้นเปลืองมากกว่า อีกทั้งอาจทำให้เกิดการแตกหัก กระเด็นเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานได้
 
 
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า หินเจียร์ ที่เราใช้งานในชีวิตประจำวันเหมาะสมแล้วหรือไม่?
เบื้องต้นต้องดูจากชนิดของสี ซึ่งโดยปกติสีแดง และสีเขียว มีไว้ใช้สำหรับงานสเตนเลส ส่วนสีดำมีไว้ใช้สำหรับงานโลหะทั่วไป แต่ทว่าใบเจียร์ในท้องตลาดทั่วไปก็สามารถผสมสีต่างๆ ที่ต้องการได้ ดังนั้นหลักเกณฑ์การดูจากสีสามารถใช้ดูได้จากสินค้าที่ผลิตจากค่ายผู้ผลิต ที่มีคุณภาพไว้วางใจได้เท่านั้น
 
 
ใช้สเตนเลสดีอย่างไร?
ได้ แต่การเอาหินเจียร์ที่ใช้สำหรับงานโลหะทั่วไป ไปใช้กับงานสเตนเลสจะมีผลเสียดังนี้
 
1. ความต้านทานต่อการกัดกร่อน
สเตนเลส ทุกเกรดมีความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง โลหะเกรดผสมต่ำ (Low alloyed grade) สามารถต้านทานการกัดกร่อนในบรรยากาศปรกติ โลหะเกรดผสมสูง (High alloyed grade) สามารถต้านทานการกัดกร่อนในกรด ด่าง สารละลายและบรรยากาศคลอไรด์ได้เกือบทั้งหมด แม้จะมีอุณหภูมิและความดันในการใช้งานสูงก็ตาม ความต้านทานต่ออุณหภูมิสูง และอุณหภูมิต่ำ (High and Low temperature resistance) บางเกรดต้านทานต่อการเกิดสะเก็ด และคงความแข็งแรงที่อุณหภูมิสูงมาก ขณะที่ยังคงความเหนียวแน่นในการงานที่อุณหภูมิติดลบ
2. ง่ายต่องานสร้างหรืองานประกอบ
สเตนเลสส่วนใหญ่สามารถ ตัด เชื่อม ขึ้นรูป ตบแต่งทางกล หรือการประกอบอื่นๆได้ง่าย
3. ความแข็งแรง
สเตนเลส สามารถเพิ่มความแข็งได้จากการขึ้นรูปเย็น (Clod work hardening) ทำให้สามารถออกแบบงานเพื่อลดความหนา น้ำหนักและราคา สเตนเลสบางเกรดอาจใช้ในงานที่ทนความร้อนขณะที่ยังคงความแข็งแรงสูง
4. การดึงดูดใจในความสวยงาม
สเตนเลส ทำให้ผิวสวยงามได้หลายวิธี และง่ายต่อการบำรุงรักษาให้ผิวงานมีคุณภาพสูง สามารถทำให้ผิวมีสีทอง บรอนซ์ เขียว เงินและสีดำ ด้วยกรรมวิธีชุบเคลือบผิวด้วยเคมี-ไฟฟ้า
5. คุณสมบัติด้านสุขศาสตร์
ความสามารถในด้านความสะอาด เป็นเหตุผลข้อแรกที่เลือกใช้สเตนเลสในงานโรงพยาบาล ห้องครัว เครื่องครัว ด้านอาหารและด้านเภสัชกรรม วงจรชีวิตของการใช้งานสเตนเลส คือ ทนทาน การบำรุงรักษาต่ำ และค่าใช้จ่ายต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาในการใช้งาน สเตนเลสสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ได้ง่าย และเศษของสเตนเลสมีคุณค่าสูง
 
 
มาตรฐานสเตนเลส ASTM กับ AISI ต่างกันอย่างไร ?
AISI (American Iron and Steel Intitude)
เป็น มาตรฐานของสถาบันเหล็กของสหรัฐอเมริกา กำหนดชื่อเรียกเป็นตัว เลข 3 ตำแหน่ง เช่น 304 หรือ 316 ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ตัวอักษรพิเศษต่อท้าย ใช้กำหนดส่วนผสมตัวแปรเฉพาะที่ต้องการพิเศษ เช่น 304L, 316LN หรือ 310S

ASTM (American Society for Testing and Meterials)
เป็น มาตรฐานของสมาคมวิชาชีพ ทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ที่กำหนดมาตรฐานซึ่งเป็นที่นิยมใช้ และเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก สมาคม ASTM จัดตั้งขึ้นในสหรัฐอเมริกา สำหรับการเรียกสเตนเลสเกรดต่างๆ เช่น A240, A554, A270 เป็นต้น
 
 
ทำไมราคาของสเตนเลสจึงแพงกว่า เหล็กกล้าคาร์บอนมาก?
ก. เนื่องจากเนื้อของโลหะประกอบด้วยโครเมียมและนิกเกิล
ข. มีความยาก และใช้พลังงานในกระบวนการผลิตมากกว่า
ค. มีปริมาณของการใช้สเตนเลสน้อยกว่าเหล็กกล้าคาร์บอนถึง 50 เท่า
 
 
หากใช้การทดสอบแมงกานีสโดยสารละลาย จะสามารถแยกสเตนเลสซีรีส์ 200 ออกจากซีรีส์ 300 ได้หรือไม่?
สารละลายอิเลคโตรไลท์ได้มีการคิดค้นเพื่อนำมาทดสอบสเตนเลสที่มีปริมาณแมงกานีส สูงในเบื้องต้นเท่านั้น โดยใช้ปฏิกริยาทางไฟฟ้าเป็นตัวเร่งผล อย่าง ไรก็ตามการทดสอบด้วยสารละลายนี้เป็นการทดสอบในเชิงปริมาณซึ่งจะมีความน่า เชื่อถือประมาณ 60-70%
 
 
สแตนเลสคืออะไร?
สแตนเลส หรือตามศัพท์บัญญัติเรียกว่า เหล็กกล้าไร้สนิม เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำ(น้อยกว่า 2%)ของน้ำหนัก มีส่วนผสมของโครเมียม อย่างน้อย 10.5% กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.1903 เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบว่า การเติมนิเกิล โมบิดินัม ไททาเนียม ไนโอเนียม หรือโลหะอื่นแตกต่างกันไปตามชนิด ของคุณสมบัติเชิงกล และการใช้ลงในเหล็กกล้าธรรมดา ทำให้เหล็กกล้ามีความต้านทานการเกิดสนิมได้
 
 
ประเภทของสแตนเลส
แบ่งได้ 5 ชนิดหลัก
 
1. เกรด ออสเตนิติก (Austenitic) แม่เหล็ดดูดไม่ติด นอกจากส่วนผสมของโครเมียม 18%แล้ว ยังมีนิเกิลที่ช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนอีกด้วย ชนิดออสเตนิติกเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางมากที่สุด ในบรรดาสเตนเลสด้วยกัน ส่วนออสเตนิติกที่มีโครเมียมผสมอยู่สูง 20% ถึง 25% และนิกเกิล 1%ถึง 20% จะสามารถทนการเกิดออกซิไดซ์ได้ที่อุณหภูมิสูง ซึ่งใช้ในส่วนประกอบของเตาหลอม ท่อนำความร้อน และแผ่นกันความาร้อนในเครื่องยนต์ จะเรียกว่า เหล็กกล้าไร้สนิม ชนิดทนความร้อน (Heat Resisting Steel)
2. เกรดเฟอร์ริติก (Ferritic) แม่เหล็กดูดติด มีส่วนผสมของคาร์บอนต่ำ และมีโครเมียมเป็นส่วนผสมหลัก คือประมาณ 13% หรือ 17%
3. เกรดมาร์เทนซิติก (Martensitic) แม่เหล็กดูดติด โดยทั่วไปจะมีโครเมียมผสมอยู่ 12%และมีส่วนผสมของคาร์บอนในระดับปานกลาง มักนำไปใช้ทำส้อม มีด เครื่องมือตัด และเครื่องมือวิศวกรอื่นๆ ซึ่งต้องการคุณสมบัติเด่นในด้าน การต้านทานการสึกกร่อน และ ความแข็งแรงทนทาน
4. เกรดดูเพล็กซ์ (Duplex) แม่เหล็กดูดติด มีโครงสร้างผสมระหว่างเฟอร์ไรต์และออสเตไนต์ มีโครเมียมผสมอยู่ประมาณ 18-28% และนิเกิล 4.5-8% เหล็กชนิดนี้มักถูกนำไปใช้งานที่มีคลอรีนสูงเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting corrosion) และช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน ที่เป็นรอยร้าวอันเนื่องมาจากแรงกดดัน (Stress corrosion cracking resistance)
5. เหล็กกล้าชุบแข็งแบบตกผลึก (Precipitation Hardening Steel) มีโครเมียมผสมอยู่ 17 % และมีนิเกิล ทองแดง และไนโอเบียมผสมอยู่ด้วย เนื่องจากเหล็กชนิดนี้สามารถชุบแข็งได้ในคราวเดียว จึงเหมาะสำหรับทำแกน ปั้ม หัววาล์ว และส่วนประกอบของอากาศยาน สเตนเลส สตีล ที่นิยมใช้ทั่วไปคือ ออสเตนิก และเฟอร์ริติก ซึ่งคิดเป็น 95%ของเหล็กกล้าไร้สนิม ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
 
แต่ถ้าแบ่งย่อยก็จะได้มากกว่า 50 ชนิด
สแตนเลสสตีลไม่ใช่อัลลอยล์เพียงอย่างเดียว แต่ถูกจัดอยู่ในชนิดของเหล็ก อัลลอยล์จะมีส่วนประกอบเป็นโครเมี่ยมอย่างน้อย 10.5% ส่วนประกอบอื่นๆได้ถูกผสมเพิ่มขึ้นมาเพื่อเพิ่มการป้องกันการเกิดสนิมและการเกิดความร้อนได้ดีขึ้น เพิ่มคุณสมบัติทางกลไกและส่วนผสมใหม่ๆเข้าไป ดังนั้นสแตนเลสจึงมีมากกว่า 50 ชนิด โดยถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กร the American Iron and Steel Institute(AISI) การแยกชนิดของสแตนเลสโดยทั่วไปแล้วมีอยู่ 3 ข้อคือ
 
1. ส่วนประกอบทางเทคนิคของโลหะ
2. ระบบเรียงลำดับของ AISI
3. การจัดกลุ่มเดียวกันของระบบเรียงลำดับ ได้ถูกพัฒนาโดยองค์กรของอเมริกาที่ทำหน้าที่ทดสอบแร่ธาตุ (ASTM)และองค์กรยานยนต์วิศวกรรม โดยจะกำหนดตัวเลขให้กับโลหะและอัลลอยล์ทุกชนิด

เบอร์ 304 เป็นสแตนเลสสตีลพื้นฐานที่ใช้ในการตกแต่งเพื่อความสวยงาม ชนิดนี้ง่ายต่อการขึ้นรูปและป้องกันการเกิดสนิมได้เป็นอย่างดี
เบอร์ 304L เป็นสแตนเลสสตีลเบอร์ 304 ที่ใช้คาร์บอนเป็นส่วนประกอบน้อยลงมา ใช้ในงานการเชื่อมอย่างกว้างขวาง
เบอร์ 316 ถูกออกแบบให้มาป้องกันการเกิดสนิมได้เป็นอย่างดี ถูกใช้ในงานอุตสาหกรรมหนักและสถานที่ใกล้ทะเล
เบอร์ 316L เป็นสแตนเลสสตีลเบอร์ 316 ที่มีส่วนประกอบของคาร์บอนน้อยลงมา
เบอร์ 430 เป็นสแตนเลสสตีลที่ใช้โครเมี่ยมเป็นส่วนประกอบ 100% และมีโอกาสเกิดสนิมน้อยกว่าเบอร์300 พวกนี้นิยมใช้ตกแต่งภายใน

ดูลักษณะภายนอกของสแตนเลสแล้วเกือบทุกเกรดล้วนคล้ายคลึงทั้งนี้แล้วยังมีสแตนเลสเกรดต่ำที่มีโอกาสของการขึ้นสนิมได้สูงอีกเช่นสแตนเลสเบอร์201เป็นต้น ดังนั้นควรที่จะเลือกซื้กับร้านค้าที่ไว้วางใจได้นะครับ
 
 
คุณสมบัติทั่วไป และ คุณสมบัติทางกายภาพ
คุณสมบัติทางกายภาพของสเตนเลส เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุประเภทอื่น ค่าที่แสดงในตารางที่1 เป็นเพียงค่าประมาณ เนื่องจากการเปรียบเทียบทำได้ยาก ค่าความหนาแน่นสูงของสเตนเลสแตกต่างจากวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ในส่วนของคุณสมบัติเกี่ยวกับความร้อนความสามารถ ทนความร้อนของสเตนเลส มีข้อสังเกต 3 ประการคือ
 
1. การที่มีจุดหลอมเหลวสูง ทำให้มีอัตราความคืบดี เมื่อเทียบกับเซรามิกที่อุณหภูมิต่ำกว่า 1000 องศา C
2. การที่มีค่านำความร้อนระดับปานกลาง ทำให้สเตนเลสเหมาะที่จะใช้ในงานที่ต้องทนความร้อน (คอนเทนเนอร์) หรือต้องการคุณสมบัตินำความร้อนได้ดี (เครื่องถ่ายความร้อน)
3. การมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวระดับปานกลาง จึงสามารถใช้ความยาวมากๆได้ โดยใช้ตัวเชื่อมน้อย (เช่น ในการทำหลังคา)
 
 
คุณสมบัติ เชิงกล
สเตนเลสโดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของเหล็กประมาณ 70-80% จึงทำให้มีคุณสมบัติของเหล็กที่สำคัญ 2 ประการคือ ความแข็งและความแกร่ง ในตารางที่ 2นี้ เป็นการเปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงกลกับวัสดุชนิดอื่น จะเห็นได้ว่าพลาสติกซึ่งเป็นวัสดุที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางมีความแข็งแรง และโมดูลัส ความยืดหยุ่นต่ำ ส่วนเซรามิกมีความแข็งแรงและความเหนียวสูงแต่มีความแกร่งหรือความสามารถรับแรงกระแทกโดยไม่แตกหักต่ำ สเตนเลสให้ค่า ที่เป็นกลางของทั้งความแข็ง ความแกร่ง และความเหนียว เรนื่องจากมีส่วนผสมของธาตุเหล็กอยุ่มาก และจะมีเพิ่มขึ้นอีกในชนิดออสเตนิติก และตารางที่ 3 จะแสดงให้เห็นค่าความแข็งแรงสูงสุด (Ultimate Tensile Strength) ของสเตนเลส ไม่ว่าจะชนิดที่อ่อนตัวง่าย ซึ่งสามารถทำให้ขึ้นรูปเย็นได้ดี เช่น การขึ้นรูปลึก (Deep Drawing) จนถึงชนิดความแข็งแรงสูงสุด ซึ่งได้จากการขึ้นรูปเย็นหรือการทำให้เย็นตัวโดยเร็ว (Quenching) หรือชนิดชุบแข็ง แบบตกผลึก (Preciptation Hardening) ซึ่งเหมาะใช้ทำสปริง
 
 
คุณสมบัติของ สแตนเลส
สเตนเลสต่างชนิดกันที่มีโครงสร้างต่างกัน จะมีลักษณะค่าความแข็งแรงที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกันดังในรูปจะแสดงให้เห็น แนวโค้งของค่าความแข็งแรง โดยทั่วไปของเกรดสเตนเลส 4 ชนิด
 
1. เกรดมาร์เทนซิติก มีค่าความจำนนความแข็งแรง (Yield Strength : YS) และค่าความแข็งแรงสูงสุด (Ultimate Tensile Strenght : UTS) สูงมากในสภาพที่ผ่านกระบวนการอบชุบ แต่จะมีค่าการยืดตัว (Elongation : EL %) ต่ำ
2. เกรดเฟอร์ริติก มีค่าความจำนนความแข็งแรง และค่าความแข็งแรงสูงสุดปานกลาง เมื่อรวมกับค่าความยืดตัวสูง จึงทำให้สามารถขึ้นรูปได้ดี
3. เกรดออสเตนิติก มีค่าความจำนนความแข็งแรงใกล้เคียงกับชนิดเฟอร์ริติก แต่มีค่าความแข็งแรงสูงสุดและความยืดตัวสูง จึงสามารถขึ้นรูปได้ดีมาก
4. เกรดดูเพล็กซ์ (ออสเตไนท์ - เฟอร์ไรต์) มีค่าความจำนนความแข็งแรง และค่าความยืดตัวสูงจึงเรียกได้ว่า เหล็กชนิดนี้มีทั้งความแข็งแรง และความเหนียว (Ductility) ที่สูงเป็นเลิศ
 
 
ความต้านทานการกัดกร่อน
เหตุใด? สเตนเลสจึงทนต่อการกัดกร่อนได้ โลหะทุกชนิดทั่วไปจะทำปฎิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ เกิดเป็นฟิล์มออกไซต์บนผิวโลหะ หรือออกไซต์ ที่เกิดบนผิวเหล็กทั่วไป จะทำปฎิกิริยาออกซิไดซ์ และทำให้เกิดสภาพพื้นผิวเหล็กผุกร่อน ที่เราเรียกว่า เป็นสนิม แต่สเตนเลสมีโครเมียมผสมอยู่ 10.5% ขึ้นไป ทำให้คุณสมบัติของฟิล์มออกไซต์บนพื้นผิวเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นฟิล์มปกป้อง หรือพลาสซิฟเลเยอร์ (Passive Layer) ที่เหมือนเกราะป้องกัน การกัดกร่อน ซึ่งปรากฎการณ์นี้เรียกว่า พาสซิวิตี้ (Passivity) ฟิล์มปกป้องนี้จะมีขนาดบางมาก (สำหรับแผ่นสเตนเลสบางขนาด 1 มม. ฟิล์มหรือพาสซีฟ เลเยอร์นี้ จะมีความบางเทียบเท่ากับวางกระดาษ 1 แผ่น บนตึกสูง 20 ชั้น) และมองตาเปล่าไม่เห็นฟิล์มนี้จะเกาะติดแน่น และทำหน้าที่ปกป้องสเตนเลส จากการกัดกร่อนทั้งมวล หากนำไปผลิตแปรรูปหรือใช้งานในสภาพเหมาะสม เมื่อเกิดมีการขีดข่วน ฟิล์มปกป้องนี้จะสร้างขึ้นใหม่ได้เองตลอดเวลา

ความคงทนของพาสซีสเลเยอร์ เป็นปัจจัยหลักของความต้านทานการกัดกร่อนของสเตนเลส นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับสภาพการกัดกร่อนอันได้แก่ ความรุนแรง ของปฏิกิริยาออกซิไดซ์ ความเป็นกรดปริมาณสารละลายคลอไรต์ และอุณหภูมิ โดยทั่วไปแล้วการเพิ่มปริมาณ โครเมียมจะช่วยเพิ่มความ ต้านทาน การกัดกร่อนของสเตนเลส การเติมนิเกิลจะช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนโดยทั่วไป ให้ทนสภาวะกัดกร่อนรุนแรงได้ ส่วนโมลิบดินัมจะช่วยเพิ่ม ความต้านทานการกัดกร่อนเฉพาะที่ เช่น การกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting Corrosion)

ในทางปฏิบัติ สเตนเลสชนิดเฟอร์ริติก มีการใช้งานจำกัดในสภาพการกัดกร่อนปานกลางและในสภาพชนบท ทั้งชนิดเฟอร์ริติกและออสเตนิติก สามารถใช้ทำ อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือนได้แต่เนื่องจากชนิดออสเตนิติกสามารถทนการกัดกร่อนได้ดี และทำความสะอาดง่าย จึงนิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม นอกจากนี้ชนิดออสเตนิติกยังทนการกัดกร่อนจากสารเคมีหลายประเภทได้แก่ กรด, อัลคาลายด์ เป็นต้น ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย ในอุตสาหกรรมเคมี และกระบวนการผลิตต่างๆ
 
 
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั่วไป
ผลิตภัณฑ์
ตัวอย่าง<
การใช้และข้อควรระวัง<
ผงซักฟอก ผงซักฟอก และสบู่ที่ใช้ในบ้าน น้ำยาทำความสะอาดกระจก ใช้ล้างสเตนเลสได้เป็นครั้งคราว แต่ต้องล้างออกด้วยน้ำเย็นให้หมด
ยาฆ่าเชื้อ ในบ้านและในอุตสาหกรรม ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อเจือจาง โดยจำกัดจำนวนครั้งที่ใช้ ต้องล้างออกด้วยน้ำให้สะอาด
สารละลาย แอลกอฮอล์ และอะเซโทน สำหรับคราบที่ล้างด้วยสบู่ไม่ออก เช่น สี และคราบมันจากสารอนินทรีย์ จากนั้นล้างด้วยสารละลายแล้วเช็ดออกด้วยสบู่ และล้างออกด้วยน้ำสะอาด
กรดทำความสะอาด สารละลายทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของฟอสฟอรัสและไนตริก เป็นวิธีสุดท้ายที่ควรใช้ทำความสะอาดสเตนเลส ล้างออกด้วยน้ำร้อนหลายๆครั้ง โดยใช้ความระมัดระวัง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญสำหรับการใช้ที่ถูกต้องและปลอดภัย
ทำความสะอาดโดย ใช้เครื่องมือ การยิงผิวหน้า, การขัดผิวหน้า, การขัดด้วยลวด, การใช้ผงขัด คราบที่ล้างออกยาก ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเชิงกล ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ต้องปลอดออกไซต์หลัก และระวังไม่ให้เกิดคราบขึ้นอีก การใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้จะทำให้ พื้นผิวสตนเลสมีการเปลี่ยนแปลง
 
 
วิธีทำความสะอาดสำหรับคราบสกปรกทั่วๆ ไป
คราบสกปรก
วิธีการทำความสะอาด
รอยนิ้วมือ ล้างด้วยสบู่ ผงซักฟอก หรือสารละลาย เช่น แอลกอฮอล์ หรืออาเซโทน ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง
น้ำมัน คราบน้ำมัน ล้างด้วยสารละลายไฮโดรคาร์บอน / ออร์กานิก (เช่น แอลกอฮอล์) แล้วล้างออกด้วยสบู่ / ผงซักฟอกอย่างอ่อน และน้ำ ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง แนะนำให้จุ่มชิ้นงานให้โชกก่อนล้างในน้ำสบู่อุ่นๆ
สี ล้างออกด้วยสารละลายสี ใช้แปลงไนล่อนนุ่มๆ ขัดออก แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็คให้แห้ง
Carbob Deposit or Bked-on จุ่มลงในน้ำ ใช้สารละลายที่มีแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบ ล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็ดให้แห้ง
เปลี่ยนสีเนื่องจากความร้อน ทาครีม (เช่น บรัสโซ) ลงบนแผ่นขัดที่ไม่ได้ทำจากเหล็ก แล้วขัดคราบที่ติดบนสเตนเลสออก ความร้อนขัดไปในทิศทางเดียวกันกับพื้นผิว ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง
ป้ายและ สติกเกอร์ จุ่มลงในน้ำอุ่นๆ ลอกเอาป้ายออกแล้วถูกาวออกด้วยเบนซิน ล้างออกด้วยสบู่และน้ำจากนั้นให้ล้างด้วยน้ำอุ่น เช็คให้แห้งด้วยผ้านุ่มๆ
รอยน้ำ / มะนาว จุ่มลงในน้ำส้มสายชูเจือจาง (25%) หรือกรดไนตริก (15%) ล้างให้สะอาด ล้างออกด้วยสบู่และน้ำ จากนั้นล่างให้สะอาดด้วนน้ำอุ่น เช็คให้แห้งด้วยผ้านุ่มๆ
คราบชา – กาแฟ ล้างด้วยโซดาไบคาร์บอเนต ในน้ำ ล้างออกด้วยสบู่และน้ำ จากนั้นล้างให้สะอาดด้วยน้ำอุ่น เช็คให้แห้งด้วยผ้านุ่มๆ
คราบสนิม จุ่มในน้ำอุ่นที่มีส่สนผสมสารละลายกรดไนตริก ในอัตราส่วน 9 ต่อ 1 ประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ล้างออกด้วยน้ำให้สะอาด หรือล้างผิวด้วยสารละลายกรดออกชาลิค ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็คให้แห้งหรือต้องใช้เครื่องมือล้างหากคราบสนิมติดแน่น
 
 
ความรู้และเทคนิค
ควรทำ
ไม่ควรทำ
เมื่อไม่ได้มีการทำความสะอาดสเตนเลส อย่างสม่ำเสมอ เมื่อสังเกตเห็นคราบหรือฝุ่นละอองใด ๆ ต้องรีบทำความสะอาดทันที ไม่ควรเคลือบผิวสเตนเลสด้วยแว็ก หรือวัสดุที่ผสมน้ำมัน เพราะจะทำให้คราบสกปรกหรือฝุ่นละอองติดบนพื้นผิวได้ง่ายขึ้น และล้างทำความสะอาดออกได้ยาก
การทำความสะอาดสเตนเลส ควรเริ่มจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ที่อ่อนที่สุด โดยเริ่มใช้ในบริเวณเล็ก ๆ ก่อนเพื่อดูว่าเกิดผลกระทบอะไร กับผิวสเตนเลสหรือไม่ ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ที่มีส่วนประกอบของคลอไรด์และฮาไลด์ เช่น โบรไมน์, ไอโอดีนและผลูออรีน
ใช้น้ำอุ่นล้างคาบความมันออก ไม่ควรใช้ยาฆ่าเชื้อในการทำความสะอาดชิ้นส่วนสเตนเลส
หมั่นล้างสเตนเลสด้วนน้ำสะอาด เป็นขั้นตอนสุดท้ายเช็ดให้แห้งด้วยผ้านุ่ม หรือกระดาษชำระ ไม่ควรใช้กรดไฮโดรคลอริก (HCI) ในการทำความสะอาด เพราะอาจก่อให้เกิดการกัดกร่อน แบบรูเข็ม และการแตกเนื่องจากความเครียด (Stress Corrosion Crocking)
เมื่อใช้กรดกัดทำความสะอาดสเตนเลส ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เราไม่แน่ใจ
หลังจากใช้เครื่องครัวที่ทำด้วยสเตนเลส ควรล้างให้สะอาดทุกครั้ง ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำความสะอาดเครื่องเงิน ในการทำความสะอาดสเตนเลส
หลีกเลี่ยงคราบ / สนิมเหล็ก ที่อาจติดมากับอุปกรณ์ทำความสะอาด ที่ทำมาจากเหล็ก หรือใช้ทำความสะอาดชิ้นส่วนเหล็กกล้าคาร์บอน ไม่ควรใช้สบู่ หรือผงซักฟอกมากเกินไป เพราะจะทำให้ผิวสเตนเลสมัวและหมองลง
ในกรณีที่ประสบปัญหาในการทำความสะอาดสเตนเลสควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ไม่ควรทำความสะอาด และทำพาสซิเวชั่นในขั้นตอนเดียวกัน ควรทำตามขั้นตอน คือ ล้างก่อนแล้วค่อยทำพาสซิเวชั่น
 
 
หน้าแรก | สินค้า | ใบเสนอราคา | กลุ่มผู้ใช้สแตนเลส | ความรู้เกี่ยวกับสแตนเลส | ข้อมูลบริษัท | สมัครงาน | ติดต่อบริษัท | คำถามที่พบบ่อย
 
Copyright © 2010 Lert Siam Steel Co., Ltd. - All rights reserved.